เคล็ดลับการฝึกพูด

ในบทความนี้มีเคล็ดลับการฝึกพูดและลำดับพัฒนาการทางด้านการพูดในเด็กทารกและเด็กเล็กมาฝากกัน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย โดยปกติแล้ว เด็กเล็กมักเริ่มพูดเป็นคำชัดเจนเมื่อมีอายุ 1-2 ขวบ แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่ยอมพูดหรือมีการตอบสนองต่อการสื่อสารที่ผิดไปจากที่ควรจะเป็น นี่อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการที่ผิดปกติได้

1. เริ่มพูดคุยตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ คุณแม่หลายคนอาจเคยลูบท้องที่กำลังโตขึ้น พร้อมสื่อสารกับ เจ้าตัวน้อยที่อยู่ในนั้น ซึ่งการพูดคุยในรูปแบบนี้อาจมีประโยชน์กว่าที่คิด เพราะเด็กทารกสามารถ จดจำและเรียนรู้เสียงของคุณแม่ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
2. ใช้น้ำเสียงให้ตรงกับสถานการณ์ โทนเสียงหรือน้ำเสียงในการสื่อสารหรือแม้แต่การเล่าเรื่องก็มีผล ต่อการทำความเข้าใจในประโยคได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประโยคคำถาม ประโยคคำสั่ง รวมไปถึงการ เลียนเสียงของสัตว์ชนิดต่าง ๆ จะช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจการออกเสียงและเรียนรู้เสียงต่าง ๆ ได้มากขึ้น
3. ตอบสนองต่อการโบกไม้โบกมือ แม้ว่าทารกจะไม่สื่อสารด้วยการพูดเป็นคำหรือเป็นประโยคได้ แต่หลายครั้งที่เด็กพยายามแสดงสีหน้าและท่าทางต่าง ๆ กับคนรอบข้าง ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจที่ เจ้าตัวน้อยสื่อสาร ก็ควรตอบสนองต่อการสื่อสารของลูกแม้ว่าเด็กจะไม่มีเสียงโต้ตอบกลับมาก็ตาม ใน กรณีที่ลูกน้อยทำท่าอุ้มหรือชี้ อาจลองพูดกับลูกด้วยประโยคง่าย ๆ เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีในการ สื่อสารมากขึ้น
4. เล่านิทานให้น่าสนใจยิ่งขึ้น การเล่านิทานหรือเรื่องราวต่าง ๆ ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมจินตนาการ ของเด็กเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เด็กเรียนรู้คำและประโยคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่การเล่าธรรมดา ๆ อย่างเดียวอาจไม่พอ คุณพ่อคุณแม่อาจลองใช้เคล็ดลับหรือเทคนิคอื่น ๆ 

นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรพูดคุยกับลูกด้วยคำที่สั้นและง่าย พูดให้ชัดและใช้ระดับเสียงที่เหมาะสม รวมไปถึงควรเอาใจใส่เรื่องอื่น ๆ อย่างเรื่องอาหาร สุขอนามัย และพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีการการฝึกพูดเท่านั้น